WHERE TO VISIT

 

 

วัดช้างล้อม

วัดช้างล้อม

 ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือของคลองแม่ลำพัน ตามศิลาจารึกที่วัดนี้เขียน เล่าเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พ.ศ. 1905-1933 ว่า พนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางผู้จงรักภักดีสร้างวัดนี้ถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไท และมหาเทวี พระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาลิไท วัดนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ จุดเด่นอยู่ที่เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆัง ที่ฐานเจดีย์เป็นรูปช้างล้อม จำนวน 32 เชือก มีลายประทักษิณโดยรอบ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์รายและโบสถ์กลางน้ำอีกด้วย

เจดีย์วัดช้างล้อม

เจดีย์วัดช้างล้อม

วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีเจดีย์ทรงลังกาที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโดยรอบฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 39 เชือก หมายถึง โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องหมายการตรัสรู้ ประกอบกับวิมุตติ 2 ประการ

เจดีย์วัดช้างล้อม
วัดศรีชุม

วัดศรีชุม

 สิ่งที่เป็นจุดเด่นของวัดนี้คือ มณฑปที่ประดิษฐานพระอจนะ พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกสถานที่นี่ว่า “ฤาษีชุม” เป็นสถานที่ที่พระนเรศวรมาหาราชใช้เป็นที่ประชุมทัพก่อนยกไปปราบเมืองสวรรคโลก นอกจากนี้ในช่องผนังด้านข้างมณฑป (อุโมงค์วัดศรีชุม) ยังเป็นจุดที่ค้นพบหลักศิลาจารึกหลักที่ 2 ที่เล่าถึงเรื่องราวการก่อตั้งราชวงศ์สุโขทัยอีกด้วย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 ลักษณะพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาดสองเท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ ลักษณะพระพักตร์ คล้ายกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ด้านข้างมีแผ่นจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจอยู่ด้วย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง

 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกใกล้กับประตูกำแพงหัก อาคารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2503 จนแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมในปี พ.ศ.2506 โดยภายในอาคารแบ่งการจัดแสดงออกเป็นสามส่วน คือ อาคารลายสือไทย เป็นห้องจัดแสดงสไลด์มัลติวิชั่น ในอาคารที่สองจัดแสดงโบราณวัตถุที่สำคัญ และส่วนที่สามเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีการจำลองโบราณวัตถุชิ้นใหญ่ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวชมได้อยางใกล้ชิด

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ

 วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางผังเมือง ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองสุโขทัย สร้างขึ้นตามความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบอินเดียโบราณ ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมากกว่า 200 องค์ โดยมีเจดีย์ประธานลักษณะเป็นทรงดอกบัวตูม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยโดยแท้ รอบๆเจดีย์ประธานมีเจดีย์ประจำทิศอีก 8 องค์ องค์ที่อยู่ตรงมุมทั้งสี่มีอิทธิพลของศิลปะหริภุญไชย และล้านนา ส่วนเจดีย์ที่อยู่ตรงกลางด้านทั้งสี่เป็นทรงปราสาทเรือนยอดแบบสุโขทัย โดยมีลวดลายปูนปั้นศิลปะแบบลังกา

ตามศิลจารึกหลักที่ 1 บรรยายว่าที่วิหารหลวงของวัดนี้เคยเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองขนาดใหญ่ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นหลวงพ่อโตของชาวเมืองเก่า จนเมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ได้อัญเชิญไปอยู่ที่ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ต่อมารัชกาลที่ 2 ได้พระราชทานนามว่า “พระศรีศากยมุนี” ถัดจากวิหารหลวงไปทางทิศตะวันออกเป็นวิหารสูง เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่สร้างขึ้นภายหลัง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเจดีย์รายที่จัดแยกออกเป็นกลุ่มๆ มีศูนย์กลางอยู่ที่เจดีย์ 5 องค์ ซึ่งเป็นเจดีย์ทีมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากเจดีย์ประธาน
วัดศรีสวาย

วัดศรีสวาย

 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานที่สำคัญคือปรางค์ 3 องค์ ที่มีรูปแบบศิลปะแบบลพบุรี แต่ลักษณะของพระปรางค์ค่อนข้างเพรียวตั้งอยู่บนฐานเตี้ยๆ มีลวดลายปูนปั้นบางส่วนคล้ายเครื่องถ้วนจีนสมัยราชวงศ์หยวน นอกจากนี้ยังพบทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนเทวรูปและศิวลึงค์ อันแสดงถึงวัดนี้เคยเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน

วัดศรีสวาย
วัดตระพังเงิน

วัดตระพังเงิน

 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ประกอบด้วยเจดีย์ประธานวิหาร ไม่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ โดยเจดีย์ประธานนั้นเป็นทรงดอกบัวตูม มีวิหารประกอบอยู่ด้านหน้า ลักษณะเด่นของเจดีย์ประธานของวัดนี้ยังมีซุ้มจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้าน สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและปางลีลา ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นเกาะกลางน้ำเรียกว่า “ตระพังเงิน” มีโบสถ์ตั้งอยู่เช่นเดียวกับวัดสระศรี

วัดสระศรี

วัดสระศรี

 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานที่มีความงดงามมากอีกแห่งหนึ่ง เพราะวัดตั้งอยู่กลางสระน้ำขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า “ตระพังตระกวน” สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้คือ เจดีย์ทรงระฆังที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการรับพระพุทธศาสนาจากลังกาของอาณาจักรสุโขทัย จึงเรียกเจดีย์แบบนี้ว่า “เจดีย์ทรงลังกา” นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำอีกด้วย

วัดสระศรี
วัดพระพายหลวง

วัดพระพายหลวง

 เป็นโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ และยังมีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ลักษณะของแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูด้านนอกเรียกว่าคูแม่โจน มีพระปรางค์ 3 องค์เป็นประธานของวัด และมีความเก่าแก่ที่สุดอีกด้วย องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะขอมแบบบายน ตรงกับช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บริเวณด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่อิริยาบถ

วัดสะพานหิน

วัดสะพานหิน

 ตั้งอยู่บนเนินเขาด้านตะวันตกสุดของพื้นที่โบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองในด้านนี้ ชื่อของวัดมาจากทางเดินที่ปูด้วยหินชนวนแผ่นบางๆ ตั้งแต่ตีนเขาจนถึงลานวัด บริเวณวัดเหลือเพียงวิหารก่อด้วยอิฐมีเสาศิลาแลงสี่แถวเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัยขนาดใหญ่คือพระอัฏฐารส ที่ปรากฎอยู่ในจารึกหลักที่ 1 ด้วย

วัดสะพานหิน
แม่น้ำสายอดีตแห่งเมืองเก่า สุโขทัย

แม่น้ำสายอดีตแห่งเมืองเก่า สุโขทัย

คลองแม่ลำพัน หรือ เเม่น้ำลำพัน แม่น้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยเก่า ไปลงแม่น้ำยมที่เมืองสุโขทัยใหม่  อดีตน้ำแม่ลำพันเป็นเส้นทางคมนาคมหลักของชาวสุโขทัยในการเดินทางเข้าออกยังเมืองโบราณแห่งนี้และเพื่อติดต่อไปยังที่อื่นๆ  ชื่อ ลำพัน บ้างก็ว่าเป็นภาษาเขมร หมายถึงพืชสมุนไพรบางชนิด แต่ก็มีความหมายในภาษาไทย คือ  ลำ ที่แปลว่า ลำน้ำ กับ พัน ที่สื่อถึงการเชื่อมต่อเกี่ยวโยง แม่น้ำลำพันจึงอาจหมายถึงลำน้ำ น้ำที่ไหวกวนจนเอาชุมชนใหญ่น้อยเข้าด้วยกัน  ต้นน้ำลำพันอยู่ที่รอยต่อระหว่าง อ.บ้านด่านลานหอย ของสุโขทัย และ อ.เถิน ของลำปาง ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงแบ่งระหว่างลุ่มแม่น้ำปิงกับแม่น้ำยม-น่าน  บริเวณต้นน้ำไล่เรียงลงมาตามระดับที่สูงจนถึงที่ราบซึ่งพบแหล่งโบราณคดีอันมีคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการผลิตเหล็ก-ทองแดงแลกเปลี่ยนกับสินค้าจากภายนอกตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ราว 3,000 ปีก่อน

เช่น บ้านวังหาด บ้านตลิ่งชัน เมื่อไหลลงสู่ที่ราบลุ่ม แม่น้ำลำพันเริ่มคดเคี้ยวตามสภาพภูมิประเทศสูงต่ำสลับกันไปทางทิศตะวันออก แล้วโค้งลงสู่ทางใต้ตรงก่อนถึงเมืองสุโขทัยราว
  3 กิโลเมตร ณ จุดนี้เป็นบริเวณสำคัญที่แม่น้ำลำพันได้ป้อนน้ำลงสู่บารายหรืออ่างเก็บน้ำโบราณที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวง กับคูเมืองสุโขทัยทางใต้ลงมา

จากตัวเมืองสุโขทัย แม่น้ำลำพันหักศอกไปทิศตะวันออกมุ่งตรงไปลงแม่น้ำยม ด้วยลักษณะที่คดโค้งตามธรรมชาติอยู่  ซึ่งเส้นทางแม่น้ำลำพันนี้น่าจะเป็นทางคมนาคมสายหลักที่ต่อเชื่อมเมืองสุโขทัยเก่าเข้ากับแม่น้ำยมที่ใช้เป็นทางหลวงต่อเนื่องลงไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาทางที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างจนออกปากอ่าวไทยในที่สุด  แต่ในสมัยโบราณ แม่น้ำยมอาจไม่ใช่ทางเส้นเดียวที่ชาวสุโขทัยติดต่อกับบ้านเมืองอื่น ดังนั้นแม่น้ำลำพันจึงเหมือนทางที่ใช้ออกสู่บ้านเมืองอื่นๆ ขึ้นไปถึงที่ราบสูงของอีสานและลุ่มน้ำโขงได้ด้วย

เหตุนี้ เมื่อลากเส้นบนแผนที่จากต้นน้ำ จะพบว่าแม่น้ำลำพันคือเส้นทางติดต่อของผู้คนทางฝั่งเทือกเขาสูงด้านตะวันตกใกล้ลำน้ำสาละวินไปสู่ชุมชนทางตะวันออกโดยผ่านลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนอันมีสุโขทัยเป็นเมืองหลักกลางทาง  ถือได้ว่าแม่น้ำสายนี้เป็นที่เริ่มต้นของเส้นทางหลายเส้นทาง เมืองสุโขทัยยังคงเป็นศูนย์กลางของเดินทางของสายน้ำสายสำคัญสายนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน    

บ้านนาต้นจั่น

บ้านนาต้นจั่น

 บรรพบุรุษอพยพมาจากแคว้นโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งถิ่นฐานบนผืนดินที่เต็มไปด้วยต้นจั่น ขนานนามเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านมาจนถึงทุกวันนี้ ชาวชุมชนมีวิถีความเป็นอยู่เรียบง่าย พอเพียง มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน พูดจาภาษาไทยวน (ภาษาเหนือ) ยังคงยึดอาชีพเกษตรกรรม และหัตถกรรมการทอผ้าเป็นสำคัญ ปัจจุบันเปิดให้ท่องเที่ยวและมีบริการที่พักแบบโอมสเตย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตอย่างใกล้ชิด พร้อมเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ตกทอดมารุ่นสู่รุ่น บ้านนาต้นจั่นเคยได้รับรางวัล PATA Gold Award 2012 สาขา Heritage and Culture Heritage (HE) และรางวัลยอดเยี่ยมประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว จากการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ปี ๒๕๕๖ ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ด้วย

อัตลักษณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้บ้านนาต้นจั่นเป็นที่รู้จักคือ ภูมิปัญญาการทำผ้าหมักโคลน ซึ่งได้ค้นพบจากการสังเกตชายผ้านุ่งของหญิงสาวที่ใส่ออกไปทำไร่ทำนาว่าส่วนที่เปรอะโคลนเมื่อซักแล้วเนื้อผ้ากลับมีความนุ่มมากกว่าส่วนอื่น จึงได้ริเริ่มลองนำผ้าทั้งผืนมาหมักโคลนและพบว่านอกจากผ้าจะนิ่มลงแล้ว ยังมีสีนวลตามากยิ่งขึ้น เป็นที่มาของการทำผ้าหมักโคลนจนถึงปัจจุบัน ส่วนสาเหตุที่โคลนทำให้ผ้านิ่มนั้น จากข้อมูลเชิงวิชาการพบว่า ค่าความเป็นกรดด่างของแร่ธาตุเหล็กในโคลนจะแทรกซึมเนื้อผ้า ทำให้ใยผ้าขยายตัว เกิดความนิ่ม พร้อมทั้งช่วยให้สีย้อมติดดี เนื้อผ้าให้ความอบอุ่นในหน้าหนาวได้ดี และให้ความเย็นสบายในหน้าร้อนเช่นกัน
 
บ้านนาต้นจั่น
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองสุโขทัย ต่อมาเมืองสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก

            ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) เมืองศรีสัชนาลัย หรือ สวรรคโลก ถูกปล่อยทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้งขึ้นใหม่ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอสวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัย ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัยโดยได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัยโบราณไว้ด้วย

            เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณเมืองเชลียงเดิม คือ แนวกำแพงเมืองเชลียงเดิมทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยม ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะๆ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น  จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขากำหนดขอบเขต การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแดง ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยม ไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมีหลายแนว เพราะมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามาใช้ประโยชน์ด้วย 

            โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายใน และภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อยกว่า 215 แห่ง รวมทั้งสุสานวัดชมชื่น และเตาสังคโลกโบราณ

            อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ถือได้ว่าเป็นโบราณสถานแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม ความเป็นมาของบรรพชนชาวไทยที่สำคัญมากอีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวควรเดินทางไปเที่ยวชมเมื่อเดินทางมาเยือนจังหวัดสุโขทัย

REVIEWS

Many visitors go to Sukhothai to visit the historical park but end up in a hotel of "new" Sukhothai which is 12 kilometers away. Le Charme is located in Old Sukhothai, just outside the old city walls. The landscaping done by the architect of this property is outstanding.

Nice landscaping and friendly staff

De_Roode_Leeuw

Booked for three nights, stayed for six. A lovely resort consisting of large 'chalet type' rooms, swimming pool, restaurant and bar. Room had a balcony overlooking a lake, pleasant to sit out on with a few beers from local shops. 

Near to the World Heritage Site

camper11-11

We chose to stay at Le Charme because it was recommended by the Lonely Planet and because we wanted to be within close proximity to Sukhothai Historical Park. We really enjoyed our experience overall. 

A verdant oasis, close to the historical park.

Alexandra M

We stayed one night in Le Charme and were extremely satisfied with the hotel The place is really nice with ponds and lotuses all around the chalets in which the rooms are situated. The hotel is well situated and quite near the historical park.

An exccellent place in Sukhotai

Mariesaphir Paris, France

Excellent location, as the old city is less than 1 km away. Charming hotel very relaxing with ponds & flowers. Pool is very nice and fresh, with shadow and relaxing beds.

Beautiful hotel close to Old city

11clotildej From Paris

The Le Charme Hotel was the perfect spot for exploring the Sukhothai Historic Park. While other hotels in the 'New Sukhothai' area looked nice, the Le Charme is a short cycle into the Historic Park, rather than a shuttle bus. 

The Le Charme Hotel was the perfect spot

BradfordSut, Sydney

My family and I stayed two nights during the New Year here. We were delight with very warm hospitality and resort environment in traditional Thai setting. The resort is spacious with Thai garden and lotus pond. 

Le Charme is Wonderful Hotel !!!!!

Jubuu Bangkok, Thailand

 ห้องที่เข้าพักเป็นหลังๆ เงียบ กว้างขวาง พนักงานบริการดี ร่มรื่น วันที่เข้าพักอาหารเป็นเซ็ตอร่อย ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์สูโขทัยมาก สามารถขี่จักรยานไปเที่ยวได้

"เงียบสงบใกล้อุทยานประวัติศาสตร์"

Woraphon, Thailand

 สถานที่ร่มรื่น สวยงาม ลักษณะเป็นบ้านในสวน บรรยากาศเงียบสงบ อยู่ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมาก

"สถานที่ร่มรื่น"

tanee, Thailand

 อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว แต่เงียบสงบ ไม่พลุกพล่าน จัดภูมิทรรศได้สวยงาม เป็นธรรมชาติ ห้องพักกว้างขวาง สะดวกสบาย

"เงียบสงบ เป็นธรรมชาติ"

pongsatorn, Thailand

เกี่ยวกับเลอชาร์ม

ที่พักบูติคของสุโขทัยที่อยู่ในเขตเมืองเก่า ใกล้กับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพียงไม่เกิน 5 นาทีก็จะเข้าเขตในส่วนของมรดกโลกอันเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจเเละดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาที่สุโขทัยเเห่งนี้

ที่อยู่: 9/9 ถนน นาโพธิ์ – คีรีมาศ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย 64210

จองห้องพัก

ติดต่อรีสอร์ท

  ติดต่อสอบถาม

  +66 055 633 333, +66 824 500 176

  GPS : 17.011623, 99.715063

  LecharmeSukhothai

BOOK NOW